รอบรั้วกันเกรา

  • Home
  • รอบรั้วกันเกรา
  • ม.นครพนม ดัน บ.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม สู่โครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2563 สำเร็จ

ม.นครพนม ดัน บ.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม สู่โครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2563 สำเร็จ

นายพัฒนะ พิมพ์แน่น 2020-08-10 14:20:13 1,071

ม.นครพนม ดัน บ.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม สู่โครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2563 สำเร็จ

วิทยาลัยนาหว้า มหาวิทยาลัยนครพนม ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์การมหาชน และมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ผลักดัน บ.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม เข้าสู่โครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2563 สำเร็จ ผ่านการพิจารณางบประมาณ 9 โครงการ นายอาทิตย์ ศิริสวัสดิ์ อาจารย์วิทยาลัยนาหว้า มหาวิทยาลัยนครพนม เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2563 ได้จัดทำข้อเสนอโครงการและเปิดรับผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่พร้อมขยายผลสู่พื้นที่เป้าหมายในโครงการ Social Innovation Village "หมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม 2563" หลังจากนั้นคณะทำงานได้ลงพื้นที่ศึกษาบริบทความเป็นไปได้ในพื้นที่จากโจทย์ปัญหาของชุมชน โดยมีผู้นำชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน พร้อมชาวบ้านท่าเรือ หมู่ที่ 1 , 2 และ 8 ให้ความร่วมมือผลักดันโครงการ ฯ จนสามารถผ่านการพิจารณางบประมาณในโครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2563 สำเร็จ

โครงการ Social Innovation Village "หมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม 2563" เป็นโครงการที่ช่วยส่งเสริม พัฒนา ปรับปรุงระบบนิเวศ แก้ไขปัญหา และสนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตชาวบ้านแต่ละชุมชนให้ดีขึ้น ตามโจทย์ปัญหาที่แต่ละชุมชนต้องการ ซึ่งในปี 2563 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์การมหาชน ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายเป็นต้นแบบการขยายผล 3 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ 

1.ชุมชนแคนดง อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์  

2.ชุมชนหนองตะเคียนบอน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว และ 

3.ชุมชนท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม

สำหรับพื้นที่เป้าหมายของชุมชนบ้านท่าเรือ จังหวัดนครพนม เป็นพื้นที่ในเขตการให้บริการวิชาการสู่ชุมชนของวิทยาลัยนาหว้า มหาวิทยาลัยนครพนม โดยมีข้อเสนอจัดทำโครงการดังต่อไปนี้

1.นวัตกรรมการท่องเที่ยวชุมชนและวัฒนธรรม

2.การบริหารจัดการน้ำ (การจัดการน้ำสำหรับการปลูกไผ่)

3.นวัตกรรมการตลาดสำหรับสินค้าชุมชน (แคน โหวด พิณ)

4.นวัตกรรมการแปรรูปผลผลิตการเกษตร และ

5.นวัตกรรมด้านปศุสัตว์ (กระบือไทย)

ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการสร้างระบบนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในชุมชน สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรม รวมถึงยกระดับทักษะและความสามารถทางนวัตกรรมของพื้นที่สู่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อคุณภาพชีวิตและความยั่งยืนของคนในชุมชน

ข้อมูล : อาทิตย์ ศิริสวัสดิ์ วิทยาลัยนาหว้า มหาวิทยาลัยนครพนม

ข่าว : งานวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยนครพนม

HOT LINK