รอบรั้วกันเกรา

  • Home
  • รอบรั้วกันเกรา
  • RDI มนพ. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ บูรณาการวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการเชิงพื้นที่ตามแนวคิด การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ (จังหวัดโมเดล)

RDI มนพ. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ บูรณาการวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการเชิงพื้นที่ตามแนวคิด การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ (จังหวัดโมเดล)

นายปิติพงษ์ เหล่าหงษ์สา 2022-05-10 15:41:32 860

RDI มนพ. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ บูรณาการวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการเชิงพื้นที่ตามแนวคิด การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ (จังหวัดโมเดล)

ระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม พ.ศ.2565   ห้องประชุมชั้น 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม นายวรรณพล ต่อพล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ บูรณาการวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการเชิงพื้นที่ตามแนวคิด การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ (จังหวัดโมเดล

โดยดร.พรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา  รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์และกล่าวต้อนรับผู้ที่เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้  ในนามขององค์กรทางวิชาการที่มีบทบาทหลักในการสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยที่นำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ จึงได้จัดการประชุม  เชิงปฏิบัติการ บูรณาการวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการเชิงพื้นที่ตามแนวคิด การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ (จังหวัดโมเดล) โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร ในการมาให้ความรู้ แนวคิด วิธีการ และการริเริ่มการทำงานกับพื้นที่ แก่อาจารย์ นักวิจัย และความร่วมมืออันดีจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครพนม เพื่อให้เกิดการขยายผลและต่อยอดการขับเคลื่อนแผนงานวิจัย การบริการวิชาการ ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ และการพัฒนาจังหวัดนครพนม ต่อไป

ทางด้านนายวรรณพล ต่อพล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มอยู่ชายฝั่งขวาของแม่น้ำโขงติดกับแขวงคำม่วน สปป.ลาว ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักด้านเกษตรกรรม มีพื้นที่ด้านการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 57.22 ของพื้นที่ทั้งหมด มูลค่าการผลิตของจังหวัดนครพนม ได้มาจากสินค้าทางด้านการเกษตร ซึ่งจังหวัดนครพนมมียุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับสู่การเป็นนครแห่งเกษตรอินทรีย์มีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”  ดังนั้น การพัฒนาเชิงพื้นที่ภายใต้แนวคิดการบูรณาการวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการเชิงพื้นที่ตามแนวคิด การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ (จังหวัดโมเดล) จึงเป็นแนวคิดการดำเนินงานที่สอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง "นครพนม สร้างสังคมอุดมสุข ทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน" ซึ่งเป็นแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

ในการประชุมครั้งนี้มีผู้ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วยทีมวิจัยส่วนกลางและอาจารย์จากคณะต่างๆของมหาวิทยาลัยนครพนม ตัวแทนจากหน่วยงานราชการของจังหวัดนครพนม รวมทั้งผู้ประกอบการ ชาวบ้าน เกษตรกร และยังได้รับเกียรติจาก ดร. มนพร เจริญศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครพนม และ นางสาวสกุณา สาระนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร กรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย จาก ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อปรับแนวคิด และวิธีการ การริเริ่มการทำงานกับพื้นที่ รวมทั้งร่วมกันลงสำรวจพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 2 แห่ง คือ 

    1.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรบ้านห้วยไห (กลุ่มผู้ผลิตข้าวฮางงอกอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม 

    2.กลุ่มผลิตสับปะรด อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม 


โดยการดำเนินโครงการในครั้งนี้ มีเป้าหมาย เพื่อการพัฒนานวัตกรรม การแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดนครพนม ให้ตรงจุดตรงเป้าหมาย และสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน และแม่นยำ และมีแผนในการลงพื้นที่สำรวจความพร้อมความต้องการของชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมของข้อมูลและพื้นที่ในการเสนอต่อหน่วยงานรับผิดชอบต่อไป



ภาพ/ข่าว : งานสื่อสารองค์กร กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม / สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม


อัลบั้มภาพกิจกรรม : https://web.facebook.com/media/set/?set=a.1057808058277906&type=3

HOT LINK