รอบรั้วกันเกรา

  • Home
  • รอบรั้วกันเกรา
  • ม.นครพนม นำเสนองานวิจัยขยายผลสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการตลอดสายโซ่ผลิตภัณฑ์กะละแมโบราณนครพนม ด้วยกลไกขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่บนฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่น

ม.นครพนม นำเสนองานวิจัยขยายผลสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการตลอดสายโซ่ผลิตภัณฑ์กะละแมโบราณนครพนม ด้วยกลไกขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่บนฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่น

นายพัฒนะ พิมพ์แน่น 2023-09-29 13:08:19 182

วันที่ 28 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยนครพนม จัดประชุม “การนำเสนอผลการวิจัย เพื่อขยายผลไปสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการตลอดสายโซ่ผลิตภัณฑ์กะละแมโบราณนครพนม ด้วยกลไกขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่บนฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่น” โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม เป็นประธานพิธี และได้รับเกียรติจากนายณัฐพล สุริยนต์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญกรอบการวิจัย Local Enterprises นำทีมโดย รศ.ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้อำนวยการกรอบการวิจัย Local Enterprises และคณะเข้าร่วมรับฟังพร้อมให้ข้อเสนอแนะการทำงานวิจัยในครั้งนี้ ณ ห้องพนมนาคา ชั้น 5 อาคารสารสนเทศเพื่อการบริหาร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม

ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม กล่าวว่า มหาวิทยาลัยนครพนม มีการขับเคลื่อนภารกิจมหาวิทยาลัยอยู่ในกลุ่มที่ 3 ตามกรอบการแบ่งกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) คือ มหาวิทยาลัยแห่งการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based and Community Engagement) ที่มุ่งเน้นการสร้าง และพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะสูงตามความต้องการของท้องถิ่น และพัฒนาท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม ซึ่งตรงตามภารกิจของความต้องการของการพัฒนาท้องถิ่นชุมชนต่อไปในอนาคตของประเทศ ในเรื่องของการวัดระดับความสำเร็จของงานวิจัย มี 5 ระดับ ดังนี้

1. การสร้างความร่วมมือทางความคิด องค์ประกอบที่ 10 พัฒนางานวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพและการสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าในฐานะเป็นเสาหลักทางความคิด (Think Tank) โดยชุมชนจะเริ่มเปิดโอกาสให้นักวิจัยเข้าไปร่วมในกระบวนของการพัฒนา ทำให้ชุมชนในพื้นที่กิดความไว้วางใจเป็นคู่คิด

2. การสร้างความร่วมมือกับชุมชน / สังคมเขตพื้นที่ในลักษณะของ Social Lab โดยมหาวิทยาลัยนครพนมทำหน้าที่เป็นหน่วยวิจัยให้กับภาพประชาชน สังคม  ซึ่งเกิดขึ้นภายในชุมชนที่ได้ทำวิจัยร่วมกัน และเมื่อใดก็ตามเมื่อชุมชนต้องการเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพิ่มเติม มหาวิทยาลัยจะมีเครื่องมือต่างๆ เพื่อช่วยเหลือชุมชน การพัฒนาวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์  อาศัยความร่วมมือโดยมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ผลักดันให้ชุมชนไม่ต้องมี Lab ปฏิบัติการ ไม่ต้องมีนักวิจัยแต่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้

3. การมีรายได้จากผลิตภัณฑ์ (Social Dedprice) ถ้าชุมชนทำผลิตภัณฑ์ออกมาแล้ว ไม่สามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นหรือลดรายจ่ายได้ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้จัดทำโครงการของบประมาณจังหวัด โดยให้เป็น Virtual Market โดยขอความร่วมมือกับจังหวัดให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนทั้งหมดในจังหวัดสามารถขายผ่านระบบออนไลน์ทั่วโลก Social DEdprice ผ่านการขายออนไลน์ Virtual Market ซึ่งจะทำให้ชุมชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกจากการขายนักท่องเที่ยวภายในจังหวัด

4. Substandcy Economy เปรียบได้กับการทำให้เกษตรกรและชุมชนเกิดการพัฒนา การสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปขายให้กับผู้บริโภค และการสร้างภูมิคุ้มกันรอบด้าน จึงทำให้ชุมชมเกิดความพอเพียง และมีรายได้เพิ่มขี้น

5. การขับเคลื่อนตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยให้ความสำคัญกับความเชื่อมโยงระหว่างแง่มุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ให้เกิดชุมชนแห่งการพัฒนา และเกิดความยั่งยืน และนักวิจัยสามารถถอนตัวออกจากชุมชนเหล่านั้น เพื่อไปพัฒนาชุมชนอื่นในแต่ละพื้นที่ของจังหวัดนครพนมต่อไป

ด้าน ดร.คมศักดิ์ หารไชย ได้นำเสนอผลการดำเนินงาน ตลอดจนการวิจัยครั้งนี้มุ้งเน้นให้เกิดการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในห่วงโซ่การผลิตเพิ่มมากขึ้น ในการผลิตกะละแม เชื่อมโยงให้มีการใช้ใบตองสดจากพื้นที่จังหวัดนครพนม มีเอกลักษณ์คือความลับของกลิ่นใบตอง เป็นศาสตร์องค์ความรู้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นก่อให้เกิดการขยายผลกว้างขวางยิ่งขึ้น อันจะก่อให้เกิดสังคมที่เกื้อกูลกันในท้องถิ่น เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ที่นำไปสู่สังคมแห่งความพอเพียงที่มีหัวใจเกื้อกูลกัน นอกจากนี้เพื่อการยกระดับห่วงโซ่การผลิตกะละแมโบราณนครพนม สร้างกลุ่มอาชีพ กลุ่มธุรกิจส่งต่อผู้บริโภค นั้นคือ “จิตวิญญาณแห่งนครพนม เพื่อธุรกิจชุมชนมีหัวใจเดียวกัน”

ภาพ : พัฒนะ  พิมพ์แน่น

ข่าว : ผกายพัชร์  เจริญพันธ์

HOT LINK