รอบรั้วกันเกรา

  • Home
  • รอบรั้วกันเกรา
  • ม.นครพนม นำสุดยอดนวัตกรรม 4 ผลงาน จัดแสดงในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์)

ม.นครพนม นำสุดยอดนวัตกรรม 4 ผลงาน จัดแสดงในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์)

นายพัฒนะ พิมพ์แน่น 2024-07-24 14:52:22 116

ม.นครพนม นำสุดยอดนวัตกรรม 4 ผลงาน จัดแสดงในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์)

วันที่ 22 กรกฎาคม 2567 มหาวิทยาลัยนครพนม ร่วมงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) หรือ “อว.แฟร์” เพื่อยกระดับทักษะองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแก่ประชาชนให้มีมาตรฐานทัดเทียมนานาชาติ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญลยา มิขะมา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปุณณฑรีย์ เจียวิริยบุญญา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมงานมหกรรม ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) กรุงเทพมหานคร

ด้าน มหาวิทยาลัยนครพนม ได้นำผลงานของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัย จัดแสดงในงานมหกรรม จำนวน 4 ผลงาน ได้แก่ ผลงานที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา 3 ผลงาน คือ สารละลายกำจัดเพลี้ย ใช้กำจัดเพลี้ยอ่อนในผัก เสริมสร้างการเจริญเติบโตและความแข็งแรงให้กับต้นพืช , เครื่องแช่ข้าวงอกกึ่งอัตโนมัติ และตู้อบรมควันผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ (บูธกิจกรรมของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)) และผลงาน Learning City 1 ผลงาน คือ เขตโขงนคร (บูธกิจกรรมของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.))

มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) หรือ “อว.แฟร์” จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) เครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อยกระดับทักษะองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแก่ประชาชนให้มีมาตรฐานทัดเทียมนานาชาติ พร้อมแสดงศักยภาพของคนไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนเป็นเวทีให้ผู้เข้าร่วมงานได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้วยผลงานสุดล้ำและนวัตกรรมใหม่ ๆ 

ซึ่งการจัดแสดงกิจกรรมบนพื้นที่กว่า 23,000 ตารางเมตร มีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น 6 โซนหลัก ได้แก่

1. ZONE A: INSPIRED BY SCIENCE รับผิดชอบโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

2. ZONE B: SCIENCE FOR LIFELONG LEARNING รับผิดชอบโดย ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

3. ZONE C: STARTUP LAUNCHPAD รับผิดชอบโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA

4. ZONE D: SCIENCE FOR EXPONENTIAL GROWTH รับผิดชอบโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

5. ZONE E: SCIENCE FOR ALL WELL-BEING รับผิดชอบโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

6. ZONE F: SCIENCE FOR FUTURE THAILAND รับผิดชอบโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ภาพ/ข้อมูล : ธีรพล คำขึ้น

ข่าว : พัฒนะ พิมพ์แน่น

อัลบั้มภาพข่าว : https://www.facebook.com/media/set/?vanity=NPUThailand&set=a.540128325250641

HOT LINK